เชื้อ Pseudomonas Aeruginosa คืออะไร
Pseudomonas Aeruginosa โรคนี้คืออะไร ร้ายแรงอย่างไร
![]() |
เชื้อ Pseudomonas Aeruginosa คืออะไร -Dedpraden-เด็ดประเด็น |
จากกรณีที่ เมย์-จีระนันท์ อดีตนักร้องค่าย RS ติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa จากทำศัลยกรรม หลายคนรู้สึกว่ามันน่ากลัว แต่ยังไม่ทราบข้อมูลดีว่าโรคนี้เป็นยังไง เราเลยหาข้อมูลมาให้อ่านกันค่ะ
Pseudomonas aeruginosa
เป็นเชื้อโรคฉวยโอกาสจะมีการติดเชื้อกับผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่ป่วยมากๆ หรือผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล บางทีจึงเรียกโรคติดเชื้อที่เกิดจาก Pseudomonas aeruginosa ว่าโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุอันดับสองในการทำให้เกิดโรคปอดบวมในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุใหญ่ๆ ในการก่อให้เกิดโรคปอดบวมในห้อง ICU โรคติดเชื้อจาก Pseudomonas สามารถแพร่กระจายภายในโรงพยาบาลโดยบุคลากร อุปกรณ์การแพทย์ ผิวหนัง น้ำยาฆ่าเชื้อ และอาหารPseudomonas aeruginosa สามารถเกิดได้หลายส่วนในร่างกาย ดังนี้
- หัวใจและกระแสเลือด การติดเชื้อในกระแสเลือด จะเกิดกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือด รวมไปถึงผู้ที่ติดเชื้อในส่วนอื่นของร่างกายอยู่แล้ว และผู้ที่ใช้ลิ้นหัวใจเทียม
- กระดูกและข้อต่อ ในส่วนนี้อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือมีการแพร่กระจายของเชื้อมาจากเนื้อเยื่อ
อื่น หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ติดยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือติด
เชื้อในกระแสเลือด
- ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บ
จากการผ่าตัด
- ตาและหู เริ่มจากการติดเชื้อที่หูส่วนนอก (swimmer’s ear) แต่สามารถหายได้เอง ซึ่งจะรุนแรงในผู้สูง
อายุ และนำไปสู่ปัญหาด้านการได้ยิน ใบหน้าเป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ส่วนที่ตา กาติดเชื่อบริเวณนี้
จะทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่กระจกตา และอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการความ
เสี่ยงในการติดเชื้อที่ตาได้แก่ การใส่คอนแทคเลนส์ การใช้ยารักษาตาที่มี corticosteroid ตลอดจนผู้ที่
รักษาตัวอยู่ในห้อง ICU
- ทางเดินปัสสาวะ อาจติดได้จากเครื่องทางการแพทย์หรือการผ่าตัด
- ปอด ปัจจัยที่ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ปอด ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยหัวใจล้ม
เหลว ตลอดจนผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ
- ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน ผุ้ที่สุขภาพดีก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน จากการอาบน้ำ หรือเว่ายน้ำสระว่าย
น้ำ
การรักษา
เนื่องจาก Pseudomonas aeruginosa ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ดังนั้นในการรักษาจึงนิยมให้ยาปฏิชีวนะสองตัวร่วมกัน ได้แก่ ceftazidine, ciprofloxacinimipenem, gentamicin, tobramycin, ticarcillin- clavulonate หรือ piperacillin-tazobactam โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือรับประทานเป็นเวลา 2- 6 สัปดาห์ หรือถ้าติดเชื้อทางตาต้องใช้ยาหยอดตา หรือการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องตัดเนื้อเยื่อส่วนติดเชื้อออกไป โดยเฉพาะในรายที่สมองอักเสบ, ติดเชื้อที่ตา, กระดูกและข้อต่อ, หู, หัวใจหรือบาดแผลอย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas aeruginosa มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่ปอด ส่วนผู้ที่ติดเชื้อที่ส่วนหูจะมีอัตราการเสียชีวิต 15 – 20 % และผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หัวใจห้องซ้ายซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 89 %
ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่
facebook : เด็ดประเด็น
google + : เด็ดประเด็น
Cr.honestdocs, asm, anka, pseudomonas, chclibrary
Post a Comment